บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มิถุนายน, 2020

ลงตัวกับความเศร้า

รูปภาพ
“ สุขสัญจรออนไลน์ : อยู่อย่างไรให้ชีวิตลงตัว” ครั้งที่ 3 โดย รศ.นพ. ชัชวาลย์ ศิลปกิจ ผู้อำนวยการศูนย์จิตตปัญญาศึกษา วันพฤหัสบดีที่ 18 มิถุนายน 2563 เวลา 19 . 00 - 20 . 00 น. ผ่านระบบ Zoom ลงตัวกับความเศร้า รู้จักแบบแผนความคิด เรามีความรู้สึกได้เพราะเรามีจิตใจเป็นที่รองรับ เมื่อเข้าใจอย่างนี้ จะได้มีท่าทีให้ถูกต้องกับความรู้สึกว่ามันเป็นธรรมชาติที่เกิดขึ้น และเมื่อเราใส่ใจสิ่งใด สิ่งนั้นก็จะปรากฏชัด และเมื่อเรามีความรู้สึกใดเกิดขึ้นแล้วเราไม่อยากมี เราจะคอยเพ่งคอยจ้องให้ความรู้สึกนั้นหายไป ความอยากหายนี้เป็นปัญหา เมื่อคนเรามีความเศร้า ก็มักจะมีกระแสความคิดที่สอดคล้องไปในทางเดียวกัน คือเริ่มมีความสงสัย ลังเล ไม่แน่ใจ หมกมุ่นครุ่นคิด แล้วก็ตั้งคำถาม และคำถามที่ได้ก็มักไปส่งเสริมให้เกิดความบีบคั้น ถลำลึก และสุดท้ายจะลงมาที่การโทษตัวเอง เกิดความสงสัยในคุณค่าความหมายหรือความดีงามของตัวเอง ความเศร้ามักส่งผลต่อกระบวนการใช้เหตุใช้ผล เกิดกระบวนการหมกมุ่นครุ่นคิด คิดวกวน (rumination) ซึ่งในคนที่ไม่ได้มีอาการซึมเศร้า เมื่อคิดไปสักพักก็อาจจะนึกได้ว่าช่างมัน แล้วหยุดการคิดวกวนนั้น ออกไป

ลงตัวกับความเครียด

รูปภาพ
 “ สุขสัญจรออนไลน์  : อยู่อย่างไรให้ชีวิตลงตัว ” ครั้งที่ 2 โดย รศ.นพ. ชัชวาลย์ ศิลปกิจ  ผู้อำนวยการศูนย์จิตตปัญญาศึกษา วันพฤหัสบดีที่ 11 มิถุนายน 2563  เวลา 19 . 00 - 20 . 00 น.  ผ่านระบบ Zoom ลงตัวกับความเครียด ธรรมชาติของความเครียด ความเครียดเป็นสัญญาณให้เราระมัดระวังและเพื่อเตรียมการณ์บางอย่าง นี่เป็นหน้าที่ของความเครียดโดยธรรมชาติ แต่มนุษย์เรามีความสลับซับซ้อนและมีการปรุงแต่ง ให้เหตุให้ผล ทำให้สภาวะอารมณ์ที่เป็นธรรมชาติที่มีเพื่อการระวังภัยเลยมีส่วนเกินจากการปรุงแต่งนั้น ทำให้เกิดเป็นความเครียด สาเหตุของความเครียดมีหลายอย่าง แต่หลักๆ คือความไม่มั่นใจว่าจะเกิดอะไรขึ้นข้างหน้า ความเครียดเป็นปฏิกิริยาตอบสนองความรู้สึกไม่มั่นใจ ความไม่เชื่อมั่น ความลังเล และความวิตกกังวลนั้น หน้าที่ของเราคือ เราเท่าทันอาการของความเครียด ทำความรู้จักอาการเหล่านี้ให้ดีพอ แต่ส่วนใหญ่เราไม่ทำอย่างนั้น เรามักจมไปกับความเครียด หรือมักพยายามกำจัดความเครียดด้วยวิธีการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการหาอะไรกิน หาเพลงฟัง บางคนถึงขั้นใช้สุรา เสพยา ซึ่งส่งผลเสียในระยะยาว ผ่อนคลายความเครียดด้วยตัวเอง           

ลงตัวกับความโกรธ

รูปภาพ
  “สุขสัญจรออนไลน์  : อยู่อย่างไรให้ชีวิตลงตัว” ครั้งที่ 1 โดย รศ.นพ. ชัชวาลย์ ศิลปกิจ ผู้อำนวยการศูนย์จิตตปัญญาศึกษา วันพฤหัสบดีที่ 4 มิถุนายน 2563 เวลา 19 . 00 - 20 . 00 น. ผ่านระบบ Zoom ลงตัวกับความโกรธ หลักการสำคัญ 2 อย่าง เบื้องต้นชวนเราทำความเข้าใจให้ถูกต้องก่อนว่า เรื่องอารมณ์เป็นเรื่องของธรรมชาติของมนุษย์ที่มีพัฒนาการมาให้มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมและผู้คน และมีปฏิกิริยาตอบสนองเพื่อให้อยู่รอดปลอดภัย แต่ด้วยความสลับซับซ้อน สมองของมนุษย์พัฒนาการคิด ปรุงแต่ง ยึดถือ ซึ่งทำให้เราคาดการณ์บางอย่างได้ แต่ก็มีความขัดแย้งด้วยเพราะสิ่งต่างๆ ไม่เป็นไปตามที่เราคาดหวังเสมอไป เวลาที่อะไรๆ ไม่เป็นไปตามที่เราปรารถนา อาการเล็กๆ น้อยๆ คือความขุ่นๆ ไม่พอใจ ถ้ารุนแรงขึ้นก็เริ่มเป็นความโกรธ บันดาลโทสะ เมื่อเราเข้าใจแล้วว่าความโกรธนี้มีได้ตามธรรมชาติ เราจะสามารถตั้งเป้าหมายว่าเราจะกลับมารับผิดชอบกับความโกรธ ความไม่พอใจที่มันเกิดขึ้น เพราะความโกรธเหล่านั้นมีเราเป็นคนรับรู้ เป็นคนเห็น และเป็นคนรับผลจากความโกรธเป็นคนแรก ดังนั้น เราจะเรียนรู้ที่จะรับผิดชอบอารมณ์ของเรา 100% โดยเราไม่คาดหวัง