บทความ

บทความ : "เด็กนอกระบบ" #4 หัวข้อ “ถ้าครอบครัวมีความรักความผูกพันกัน ถึงจุดหนึ่งเราจะคิดถึงเขา และพยายามเปลี่ยนตัวเอง”

รูปภาพ
  บทความ :  "เด็กนอกระบบ" #4 หัวข้อ  “ถ้าครอบครัวมีความรักความผูกพันกัน  ถึงจุดหนึ่งเราจะคิดถึงเขา และพยายามเปลี่ยนตัวเอง” “ คิม” เลิกเรียนหลังจบชั้น ปวช.ปีที่ 1 ออกมาใช้ชีวิตวัยรุ่นกับกลุ่มเพื่อน เที่ยวเตร่ กลับบ้านบ้าง ไม่กลับบ้าง ..และเสพยาบ้า วันนี้ คิม อายุ 17 ปี ได้มารู้จักและใช้เวลาใน ศูนย์สร้างโอกาสเด็กและเยาวชนแห่งขอนแก่น ภายใต้การสนับสนุนของเทศบาลนครขอนแก่น โดยความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายจาก 25 หน่วยงาน  ในช่วง 3-4 ปี คิมเปลี่ยนไปจนแทบจะจำตัวเองไม่ได้ คิมหยุดใช้ยาเสพติด ไม่ติดเที่ยวเหมือนเมื่อก่อน แต่หันมาใช้เวลากับการทำงาน เก็บเงิน เขาวางแผนอนาคต อยากดูแลคนในครอบครัว “ ผมใช้ยาประมาณหนึ่งปี แต่ไม่ได้ต้องดูดทุกวัน ไม่ได้ขาย แค่สนุกกับเพื่อน ตอนนั้นไม่ค่อยอยู่บ้าน เที่ยวตลอด พอมาเรียน ปวช. เพื่อน ๆ เลิกเรียน ผมก็เลิกตาม ออกมากันหมด” อะไรคือ “ปมปัญหา” ที่ทำให้ชีวิตของเขาออกนอกลู่นอกทางจนเผชิญความเสี่ยงแบบนี้ ? คิมนิ่งคิด แล้วตอบสั้น ๆ ว่า “ ไม่มี” “ ติดเพื่อนเท่านั้น เป็นกลุ่มเพื่อนที่เรียนด้วยกันที่โรงเรียนเทศบาล เป็นเพื่อนที่โตมาด้วยกัน แล้วก็พากันมาเรียนอาชีวะ พอ

บทความ : "เด็กนอกระบบ" #3 หัวข้อ เสริมแกร่งคนทำงาน กุญแจดอกสำคัญ แก้ปัญหา “เด็กหลุดระบบ”

รูปภาพ
                                   บทความ :  "เด็กนอกระบบ" #3 หัวข้อ เ สริมแกร่งคนทำงาน กุญแจดอกสำคัญ  แก้ปัญหา “เด็กหลุดระบบ”    ประเทศไทยมีเด็กที่หลุดจากระบบการศึกษาไม่น้อยกว่า 1.2 ล้านคน นั่นหมายถึงร้อยละ 2 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด เท่ากับว่า เด็กไทยทุก ๆ 100 คน จะมี 16 คน ที่ไม่ได้เรียนหนังสือ การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ยิ่งซ้ำเติมสถานการณ์ให้ย่ำแย่ลงไปอีก การดูแลช่วยเหลือเด็กที่หลุดจากระบบไม่ใช่เรื่องง่าย จากประสบการณ์งานพัฒนาเครือข่ายและส่งเสริมงานด้านสุขภาพและคุณภาพชีวิต สำหรับประชากรกลุ่มเปราะบาง รวมทั้ง “เด็กนอกระบบ” ของมูลนิธิพัฒนาเครือข่ายสุขภาพ (สำนักงานภาคอีสาน) หรือ “เ ฮลท์เน็ท ”  ทิพวัลย์ โมกภา ผู้จัดการเฮลท์เน็ท  พบว่าการทุ่มงบประมาณเพื่อหวังขจัดความยากจน ไม่เพียงพอที่จะแก้ปัญหาเด็กหลุดระบบ ทิพวัลย์ โมกภา ผู้จัดการเฮลท์เน็ท “เด็กแต่ละคนมีปัญหารุงรัง ไม่ใช่ทุกคนพร้อมจะกลับมาเรียน หรือร่วมกิจกรรมที่เราจัดให้” ทิพวัลย์ บอกว่าการทำงานกับเด็ก ยากตั้งแต่การเข้าถึงตัวเด็ก การสร้างความไว้วางใจ อีกทั้งเด็กส่วนใหญ่ขาดพื้นฐานที่ดีในตัวเอง การทำงานจึงต้องเริ่มจากการช่วยใ

บทความ : "เด็กนอกระบบ" #2 หัวข้อ คืน “เด็กนอกระบบ” สู่สังคม เทคนิคที่คนทำงานต้องรู้ คุยกับ : วราภรณ์ หลวงมณี ผอ.อาศรมวงศ์สนิท

รูปภาพ
                                 บทความ :  "เด็กนอกระบบ" #2 หัวข้อ คืน "เด็กนอกระบบ" สู่สังคม เทคนิคที่คนทำงานต้องรู้ คุยกับ :  วราภรณ์ หลวงมณี ผอ.อาศรมวงศ์สนิท   เรื่อง : วาสนา เดชวาร “เด็กหลุดจากระบบการศึกษา” เป็นปัญหาที่ถูกพูดถึงอย่างกว้างขวางในช่วงที่ผ่านมาก เพราะพบว่าในแต่ละปี ประเทศไทยมีเด็กที่ออกจากการเรียนกลางคันอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 มีหลากหลายสาเหตุที่ทำให้เด็กไม่สามารถเรียนต่อได้จนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน เช่น ฐานะยากจน ปัญหาครอบครัว ปัญหาในการปรับตัว อพยพตามผู้ปกครอง เรียนไม่ทันเพื่อน ฯลฯ ปัญหาใหญ่ที่ติดตามมา เกิดจากการขาดระบบรองรับเด็กที่ “ไม่ได้ไปต่อ” ในระบบโรงเรียน หากมีช่องทางให้เด็กสามารถเรียนรู้เพื่อเพิ่มทักษะด้านต่าง ๆ ก็จะช่วยเสริมสร้างศักยภาพและยกระดับคุณภาพชีวิตในอนาคตให้พวกเขาได้ อ้อย-วราภรณ์ หลวงมณี รองผู้อำนวยการแผนงานกระบวนทัศน์ใหม่ และผู้อำนวยการอาศรมวงศ์สนิท  มีประสบการณ์ในการทำงานกับเด็กนอกระบบมากว่าสิบปี และเตรียมพัฒนาให้ศูนย์การเรียนวงศ์สนิทวิทยา เป็นพื้นที่บ่มเพาะคุณภาพชีวิตเด็กเยาวชนนอกระบบ ให้มีความเข้มแข็

บทความ : "เด็กนอกระบบ" #1 หัวข้อ ความฝันในวัยเด็ก อาชีพ และระบบการศึกษาในปัจจุบัน”

รูปภาพ
    บทความ :  "เด็กนอกระบบ" #1 หัวข้อ ความจน ไม่ใช่เหตุผลเดียวของ  “ เด็กหลุดระบบ ” ผู้เขียน :   ครูยุทธภูมิ ดีแจ้ง โรงเรียนวัดนาถบรรพต จังหวัดนครสวรรค์ “ครูยุทธ” ครูยุทธภูมิ ดีแจ้ง ชื่อนี้ เด็ก ๆ รู้จักกันดี ในฐานะครูฝ่ายปกครอง โรงเรียนเทศบาลวัดวรนาถบรรพต โรงเรียนเทศบาลใหญ่ที่สุดในอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ด้วยจำนวนนักเรียนราว 1,500 คน ครูยุทธเคยเป็นครูโรงเรียนอื่น ก่อนจะย้ายมาสอนฟิสิกส์ที่โรงเรียนเทศบาลแห่งนี้ ต่อมารับหน้าที่ครูฝ่ายปกครอง ตลอด 10 ปี เผชิญวีรกรรมของนักเรียนมาทุกรูปแบบ ทั้งยกพวกตีกัน หนีเรียน ชู้สาว ยาเสพติด ฯลฯ ครูยุทธใช้ทั้งแรงกายแรงใจในความเป็นครู พยายามดึงรั้งไม่ให้เด็ก ๆ ต้องหลุดจากระบบการศึกษา “เด็กโรงเรียนเทศบาล ชีวิตเขาเจอปัญหาหลายด้าน เราพยายามดูแล แล้วผมเป็นพวกทำอะไรก็ลุยเลย ไม่ชอบระบบหรือขั้นตอนเยอะ เพราะจะแก้ปัญหาไม่ทันการ บางทีสอน ๆ อยู่ ผู้ปกครองมาบอก ลูกหายจากบ้านหลายวันแล้ว ผมจะไปเรียกเด็กที่ค่อนข้างเกเรมา ให้เวลา 10 นาทีต้องได้คำตอบว่าเพื่อนอยู่ไหน เชื่อไหม แค่ 5 นาที เด็กกลับมาบอกได้แล้วก็พากันไปตาม อีกรายหนีไปอยู่กับผู้ชายที่คันนา ชีวิ

บทความ "จิตตปัญญาพาอ่าน" #4 หัวข้อ ความฝันในวัยเด็ก อาชีพ และระบบการศึกษาในปัจจุบัน”

รูปภาพ
  บทความ "จิตตปัญญาพาอ่าน" #4 “ความฝันในวัยเด็ก อาชีพ และระบบการศึกษาในปัจจุบัน”   ผู้เขียน เดโช นิธิกิตตน์ขจร      บทความนี้มีที่มาจากช่วงที่ Application Club House กำลังได้รับความนิยม เป็น App ที่คนส่วนใหญ่ต่างให้ความสนใจในการเข้าไปฟังและแบ่งปันความคิดเห็นเรื่องต่างๆอย่างมากมาย ผมเองก็เป็นคนหนึ่งที่ท่องไปในโลกของ Club House แล้วสายตากับปลายนิ้วก็หยุดลงเมื่อเห็นหัวข้อ “ความฝันในวัยเด็ก VS ระบบการศึกษาในปัจจุบัน” ซึ่งถูกตั้งโดยกลุ่มนักศึกษาแพทย์กลุ่มหนึ่ง ทันใดนั้นความถามหนึ่งก็ดังก้องภายในใจ “ความฝันในวัยเด็กของผมไปไหน?” ด้วยความสงสัยใคร่รู้ปลายนิ้วของผมจึงกดเข้าไปในห้องเพื่อไปฟังความคิดเห็นของน้อง ๆ นักศึกษา      การแบ่งปันค่อนข้างออกรสออกชาติ น้อง ๆ ที่อายุน้อยกว่าผมเกินรอบมีการคิดการอ่านที่เรียกได้ว่า “โตเป็นผู้ใหญ่” มากกว่าสมัยผมตอนที่มีที่อายุรุ่นราวคราวนั้นเดียวกัน มีหลายคนที่ความฝันตกหล่ ระหว่างทางเนื่องด้วยภาวะหรือบริบทที่แตกต่างของแต่ละคน มีหลายคนที่เริ่มกลับมาตั้งคำถามว่าความฝันของตนเองอยู่ตรงไหน และอีกหลายคนก็ยังไม่รู้ว่าตำแหน่งที่ตนเองมายืนอยู่ตรงนี้คือความฝันของ

บทความ "จิตตปัญญาพาอ่าน" #3 หัวข้อ บทเส้นทางการค้นหาตัวเอง

รูปภาพ
  บทความ "จิตตปัญญาพาอ่าน" #3 หัวข้อ  บทเส้นทางการค้นหาตัวเอง  ผู้เขียน อริสา สุมามาลย์ คุณรู้ตัวเองหรือยังว่ารักหรือชอบทำอะไร           หลายคนคงเคยเห็นภาพวงกลมซ้อนกัน 4 วงที่ถามว่า เรากำลังทำใน "สิ่งที่ชอบ" "สิ่งที่เราทำได้ดี" "สิ่งที่โลกนี้ต้องการ" และ "สิ่งที่สร้างรายได้" หรือไม่ โดยมีจุดตัดตรงกลางคือ "เหตุผลของการมีชีวิตอยู่" หรือที่รู้จักกันว่าอิคิไก( IKIGAI )           ตั้งแต่แผนภาพนี้เป็นรู้จักอย่างแพร่หลาย ผู้คนมากมายได้ใช้คำถาม 4 ข้อนี้เป็นแนวทางในการค้นหาตัวเอง ว่าเขาควรจะทำอะไรในชีวิตนี้ที่ทางของเขาควรจะอยู่ตรงไหน           ในมุมมองของผู้เขียน คำถามที่ตอบยากที่สุดในแผนภาพนี้ คือ "อะไรคือสิ่งที่ฉันชอบทำ" ( Things I love to do ) และสำหรับบางคน อาจจะยากจนถึงขั้นทำให้เครียดได้           วันก่อนมีนักศึกษามาปรึกษาว่า "อาจารย์ หนูเครียดมากเลยค่ะ หนูไม่รู้ว่าหนูชอบทำอะไร หนูลองมาหมดทุกอย่าง ทำได้หมดนะ แต่ไม่ชอบสักอย่างเลย...รู้สึกเหมือนไม่มีทางออกเลย"           คำถามแบบนี้มักจะมีเข้ามาถามผู้เขียนบ่อย ๆ

บทความ "จิตตปัญญาพาอ่าน" #2 หัวข้อ Viruses in the Dynamics of life ไวรัสและพลวัตแห่งชีวิต

รูปภาพ
  บทความ "จิตตปัญญาพาอ่าน" #2   หัวข้อ Viruses in the Dynamics of life ไวรัสและพลวัตแห่งชีวิต Craig Holdrege ผู้เขียน สิรินันท์ นิลวรางกูร ผู้แปลและเรียบเรียง ©2020 The Nature Institute | 20 May Hill Rd | Ghent, NY 12075 | natureinstitute.org https://www.natureinstitute.org/article/craig-holdrege/viruses-in-the-dynamics-of-life บทความนี้เป็นการสรุปจากบทความที่เขียนโดย Craig Holdrege ผู้อำนวยการ The Nature Institute, New York, USA โดยบทความต้นฉบับเกิดจากการพูดคุยระหว่างนักวิจัยที่ The Nature Institute เกี่ยวกับมุมมองของ Goethean scientist ที่พยายามอธิบายและให้ความสำคัญกับไวรัสดังเช่นที่มันเป็น “เชื้อโรคที่มองไม่เห็น” เหล่านี้เป็นปริศนาที่แท้จริง แล้วเราจะมีมุมมองต่อไวรัสนี้อย่างไรดี เราติดอยู่กับวิธีการในการอธิบายไวรัสว่าเป็นศัตรูที่มาจู่โจมเรา ในสังคมของเรามีแนวโน้มในการแบ่งขั้วเสมอ ๆ นี่พวกฉัน นั่นพวกเธอ การแบ่งขั้วเช่นนี้ปิดกั้นการทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งต่อสิ่งที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะเมื่อเรามองว่าไวรัสคือศัตรู ปัจจุบันเรารู้ชัดว่าแบคทีเรียและไวรัสก็มีบทบาทด้านบวกด้วย