บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2021

บทความ "จิตตปัญญาพาอ่าน" #4 หัวข้อ ความฝันในวัยเด็ก อาชีพ และระบบการศึกษาในปัจจุบัน”

รูปภาพ
  บทความ "จิตตปัญญาพาอ่าน" #4 “ความฝันในวัยเด็ก อาชีพ และระบบการศึกษาในปัจจุบัน”   ผู้เขียน เดโช นิธิกิตตน์ขจร      บทความนี้มีที่มาจากช่วงที่ Application Club House กำลังได้รับความนิยม เป็น App ที่คนส่วนใหญ่ต่างให้ความสนใจในการเข้าไปฟังและแบ่งปันความคิดเห็นเรื่องต่างๆอย่างมากมาย ผมเองก็เป็นคนหนึ่งที่ท่องไปในโลกของ Club House แล้วสายตากับปลายนิ้วก็หยุดลงเมื่อเห็นหัวข้อ “ความฝันในวัยเด็ก VS ระบบการศึกษาในปัจจุบัน” ซึ่งถูกตั้งโดยกลุ่มนักศึกษาแพทย์กลุ่มหนึ่ง ทันใดนั้นความถามหนึ่งก็ดังก้องภายในใจ “ความฝันในวัยเด็กของผมไปไหน?” ด้วยความสงสัยใคร่รู้ปลายนิ้วของผมจึงกดเข้าไปในห้องเพื่อไปฟังความคิดเห็นของน้อง ๆ นักศึกษา      การแบ่งปันค่อนข้างออกรสออกชาติ น้อง ๆ ที่อายุน้อยกว่าผมเกินรอบมีการคิดการอ่านที่เรียกได้ว่า “โตเป็นผู้ใหญ่” มากกว่าสมัยผมตอนที่มีที่อายุรุ่นราวคราวนั้นเดียวกัน มีหลายคนที่ความฝันตกหล่ ระหว่างทางเนื่องด้วยภาวะหรือบริบทที่แตกต่างของแต่ละคน มีหลายคนที่เริ่มกลับมาตั้งคำถามว่าความฝันของตนเองอยู่ตรงไหน และอีกหลายคนก็ยังไม่รู้ว่าตำแหน่งที่ตนเองมายืนอยู่ตรงนี้คือความฝันของ

บทความ "จิตตปัญญาพาอ่าน" #3 หัวข้อ บทเส้นทางการค้นหาตัวเอง

รูปภาพ
  บทความ "จิตตปัญญาพาอ่าน" #3 หัวข้อ  บทเส้นทางการค้นหาตัวเอง  ผู้เขียน อริสา สุมามาลย์ คุณรู้ตัวเองหรือยังว่ารักหรือชอบทำอะไร           หลายคนคงเคยเห็นภาพวงกลมซ้อนกัน 4 วงที่ถามว่า เรากำลังทำใน "สิ่งที่ชอบ" "สิ่งที่เราทำได้ดี" "สิ่งที่โลกนี้ต้องการ" และ "สิ่งที่สร้างรายได้" หรือไม่ โดยมีจุดตัดตรงกลางคือ "เหตุผลของการมีชีวิตอยู่" หรือที่รู้จักกันว่าอิคิไก( IKIGAI )           ตั้งแต่แผนภาพนี้เป็นรู้จักอย่างแพร่หลาย ผู้คนมากมายได้ใช้คำถาม 4 ข้อนี้เป็นแนวทางในการค้นหาตัวเอง ว่าเขาควรจะทำอะไรในชีวิตนี้ที่ทางของเขาควรจะอยู่ตรงไหน           ในมุมมองของผู้เขียน คำถามที่ตอบยากที่สุดในแผนภาพนี้ คือ "อะไรคือสิ่งที่ฉันชอบทำ" ( Things I love to do ) และสำหรับบางคน อาจจะยากจนถึงขั้นทำให้เครียดได้           วันก่อนมีนักศึกษามาปรึกษาว่า "อาจารย์ หนูเครียดมากเลยค่ะ หนูไม่รู้ว่าหนูชอบทำอะไร หนูลองมาหมดทุกอย่าง ทำได้หมดนะ แต่ไม่ชอบสักอย่างเลย...รู้สึกเหมือนไม่มีทางออกเลย"           คำถามแบบนี้มักจะมีเข้ามาถามผู้เขียนบ่อย ๆ

บทความ "จิตตปัญญาพาอ่าน" #2 หัวข้อ Viruses in the Dynamics of life ไวรัสและพลวัตแห่งชีวิต

รูปภาพ
  บทความ "จิตตปัญญาพาอ่าน" #2   หัวข้อ Viruses in the Dynamics of life ไวรัสและพลวัตแห่งชีวิต Craig Holdrege ผู้เขียน สิรินันท์ นิลวรางกูร ผู้แปลและเรียบเรียง ©2020 The Nature Institute | 20 May Hill Rd | Ghent, NY 12075 | natureinstitute.org https://www.natureinstitute.org/article/craig-holdrege/viruses-in-the-dynamics-of-life บทความนี้เป็นการสรุปจากบทความที่เขียนโดย Craig Holdrege ผู้อำนวยการ The Nature Institute, New York, USA โดยบทความต้นฉบับเกิดจากการพูดคุยระหว่างนักวิจัยที่ The Nature Institute เกี่ยวกับมุมมองของ Goethean scientist ที่พยายามอธิบายและให้ความสำคัญกับไวรัสดังเช่นที่มันเป็น “เชื้อโรคที่มองไม่เห็น” เหล่านี้เป็นปริศนาที่แท้จริง แล้วเราจะมีมุมมองต่อไวรัสนี้อย่างไรดี เราติดอยู่กับวิธีการในการอธิบายไวรัสว่าเป็นศัตรูที่มาจู่โจมเรา ในสังคมของเรามีแนวโน้มในการแบ่งขั้วเสมอ ๆ นี่พวกฉัน นั่นพวกเธอ การแบ่งขั้วเช่นนี้ปิดกั้นการทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งต่อสิ่งที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะเมื่อเรามองว่าไวรัสคือศัตรู ปัจจุบันเรารู้ชัดว่าแบคทีเรียและไวรัสก็มีบทบาทด้านบวกด้วย

บทความ "จิตตปัญญาพาอ่าน" #1 หัวข้อ สงบเย็น ในโลกยุคโควิด

รูปภาพ
  บทความ "จิตตปัญญาพาอ่าน" #1   หัวข้อ สงบเย็น ในโลกยุคโควิด โดย ลือชัย ศรีเงินยวง ท่ามกลางโลกยุคโควิดนี้ เราจะมีท่าทีในการมีชีวิตอยู่อย่างไร จึงจะถูกต้อง เหมาะสม และไม่ทุกข์หรือทุกข์น้อย เรื่องนี้มีสิ่งชวนใคร่ครวญในสองระดับ ระดับแรกคือ เราจะมองการระบาดของโควิดในฐานะวิกฤติหรือโอกาส และยามต้องเผชิญกับการเจ็บป่วยเพราะการติดเชื้อ เราควรจะวางท่าที วางจิต วางใจ อย่างไร โควิดเป็นทั้งวิกฤติและโอกาส โลกอยู่กับโควิดมาเกือบ สอง ปีแล้ว มองด้านที่เป็นโทษ โควิดคือภัยคุกคามมนุษย์ ทำให้ต้องเจ็บป่วย ล้มตาย ทุกข์ทรมาณ พลัดพราก ถูกจำกัดอิสรภาพ คนจำนวนมากแม้ยังไม่ได้ติดเชื้อ แต่ก็มีชีวิตด้วยความเครียด วิตกกังวล ฯลฯ สังคมทั้งโลกกำลังระส่ำระสายกับผลกระทบทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสาธารณสุข แต่หากมองในด้านที่เป็นคุณ โควิดกำลังให้บทเรียนครั้งสำคัญกับมนุษย์ เป็นบทเรียนที่คนยุคปัจจุบันมองข้าม หลงลืม นั่นคือบทเรียน เกี่ยวกับ ธรรมชาติ ความตาย และความหมายของการมีอยู่ของชีวิต เมื่อมองย้อนกลับไปในอดีต โรคระบาดเช่นโควิด ไ ม่ใช่ครั้งแรก และจะไม่ใช่ครั้งสุดท้าย โลกเคยเผชิญวิกฤติโรคระบาดครั้งใหญ่ที่คร่